หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย : รัฐศาสตรบัณฑิต

ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Political Science

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็มภาษาไทย : รัฐศาสตรบัณฑิต (รัฐศาสตร์)

ชื่อย่อภาษาไทย : ร.บ. (รัฐศาสตร์)

ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ : Bachelor of Political Science

ชื่อย่อภาษาอังกฤษ : B.Pol.Sc.

มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรอบรู้ครอบคลุมทุกมิติทางด้านรัฐศาสตร์ มีทักษะทางด้านการบริหารจัดการและเทคโนโลยี รวมทั้งสามารถนำองค์ความรู้ต่างๆ มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนา และแก้ไขปัญหาของชุมชน รวมทั้งสร้างนวัตกร ที่สามารถนำความรู้ที่มีไปต่อยอด สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ให้เกิดประโยชน์กับตนเอง สังคมและประเทศชาติ อย่างมีคุณธรรมจริยธรรมและการรับผิดชอบต่อสังคม

1 เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรอบรู้เกี่ยวกับองค์ความรู้พื้นฐานทางรัฐศาสตร์ ทั้งด้านการเมืองการปกครอง ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และด้านการบริหารรัฐกิจ และสาขาอื่นๆ อาทิ สังคมศาสตร์ ประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จิตวิทยา และการบริหารจัดการ สามารถบูรณาการองค์ความรู้ต่างๆ ในเชิงสหวิทยาการ เพื่อนำไปปฏิบัติ ต่อยอดความรู้ และปรับใช้ความรู้ในชีวิตประจำวันได้

2 เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง และมีความคิดเชิงวิพากษ์สามารถวิเคราะห์ปรากฎการณ์ต่างๆของสังคมในปัจจุบันอย่างมีเหตุและผล สามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางด้านรัฐศาสตร์ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาชุมชนและสังคม มีความเป็นผู้นำและสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้

3 เพื่อผลิตบัณฑิตที่สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีและการจัดการ เพื่อการประกอบอาชีพตามความต้องการของตลาดแรงงานทั้งในและต่างประเทศ โดยยึดหลักคุณธรรม จริยธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคม

PLO 1
อธิบายจรรณยาบรรณทางวิชีพ จิตสาธารณะ และความรับผิดชอบต่อสังคมได้
PLO 2
อภิปรายหลักการและทฤษฎีทางรัฐศาสตร์ได้
PLO 3
ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสารทั้งในวิชาชีพตนและวิชาชีพอื่นได้
PLO 4
สืบค้นข้อมูลจากสื่อดิจิทัลในการรับรับรู้สถานการณ์ เหตุการณ์และความเปลี่ยนแปลงทางรัฐศาสตร์ และการเมืองโลกได้
PLO 5
ประยุกต์ใช้ทฤษฎีทางรัฐศาสตร์และศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการวิเคราะห์ปรากฎการณ์ทางสังคม ทั้งภายในและภายนอกประเทศได้
PLO 6
เป็นผู้นำในการแก้ปัญหาชุมชน และทำงานร่วมกันกับวิชาชีพตนและวิชาชีพอื่นได้

โครงสร้างหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 120 หน่วยกิต

1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต

2) หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า 90 หน่วยกิต

2.1) กลุ่มวิชาแกน 30 หน่วยกิต

2.1.1) วิชาทฤษฎี 18 หน่วยกิต

2.1.2) วิชาปฏิบัติ 12 หน่วยกิต

2.2) กลุ่มวิชาเฉพาะด้าน 33 หน่วยกิต

2.2.1) วิชาทฤษฎี 12 หน่วยกิต

2.2.2) วิชาปฏิบัติ 21 หน่วยกิต

2.3) กลุ่มวิชาชีพเลือก 27 หน่วยกิต

2.3.1) วิชาทฤษฎี 3 หน่วยกิต

2.3.2) วิชาปฏิบัติ 24 หน่วยกิต

3) หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต

1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

รหัสวิชา

กลุ่มวิชาเพื่อการสื่อสาร

8 หน่วยกิต

GEN-101

ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร Thai for Communication

2(1-2-3)

GEN-102

ภาษาไทยกับการรู้เท่าทันอย่างสร้างสรรค์ Thai language and Creative literacy

2(1-2-3)

GEN-103

ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร English for Communication

2(1-2-3)

GEN-104

ภาษาอังกฤษกับเพื่อนวัตกรรมสังคม English for Social Innovation

2(1-2-3)

รหัสวิชา

กลุ่มวิชาส่งเสริมทักษะชีวิต

8 หน่วยกิต

GEN-201

คุณค่าของความสุข Values of Happiness

2(1-2-3)

GEN-202

มนุษย์กับศาสตร์การใช้ชีวิต Human and Science living

2(1-2-3)

GEN-203

ความรู้การเงินส่วนบุคคลยุคดิจิทัล Personal Finance literacy in Digital Age

2(1-2-3)

GEN-204

การคิดเพื่อการพัฒนาธุรกิจ Critical Thinking for Business Development

2(1-2-3)

รหัสวิชา

กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม

5 หน่วยกิต

GEN-301

การใช้ชีวิตในยุคดิจิทัล Living in the Digital Age

2(1-2-3)

GEN-302

เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อชุมชน Technology and Innovation for Community

3(2-4-3)

รหัสวิชา

กลุ่มวิชาสหศาสตร์

3 หน่วยกิต

GEN-401

UMT เพื่อชุมชน The Eastern University of Management

and Technology for Community

3(0-6-3)

2. หมวดวิชาเฉพาะไม่น้อยกว่า 90 หน่วยกิต ประกอบด้วย 2 กลุ่มวิชา

2.1

กลุ่มวิชาแกน

30 หน่วยกิต

PSA-101

หลักรัฐศาสตร์

Principle of Political Science

3(2-2-5)

PSA-102

การเมืองการปกครองไทย

Thai Politics and Government

3(2-2-5)

PSA-103

ภาษาอังกฤษสำหรับนักรัฐศาสตร์

English For Political Scientists

3(2-2-5)

PSA-104

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

International Relations

3(2-2-5)

PSA-201

หลักบริหารรัฐกิจ

Principles of Public Administration

3(2-2-5)

PSA-202

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเมืองการปกครองเปรียบเทียบ

Introduction to Comparative of Politics

3(2-2-5)

PSA-203

เศรษฐศาสตร์เบื้องต้นสำหรับนักรัฐศาสตร์

Introduction Economics in Political Science

3(2-2-5)

PSA-204

ทฤษฎีและจริยธรรมทางการเมือง

Political Theory and Ethics

3(2-2-5)

PSA-205

รัฐศาสตร์แนวจิตวิทยา สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

Psychological Sociological and Anthropological Political Science

3(2-2-5)

PSA-206

ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับนักรัฐศาสตร์

Methodology and Research in Political Science

3(2-2-5)

2.2

กลุ่มวิชาเฉพาะด้าน

33 หน่วยกิต

PSA-101

ระเบียบปฏิบัติราชการ

Administrative Procedures

3(2-2-5)

PSA-102

การบริหารงานท้องถิ่น

Management Local Government

3(2-2-5)

PSA-103

กฎหมายรัฐธรรมนูญ

Constitutional Law

3(2-2-5)

PSB-104

การปกครองและการบริหารมหานคร

Government and Administration of Metropolitan Areas

3(2-2-5)

PSB-201

กฎหมายปกครอง

Administrative Law

3(2-2-5)

PSB-204

การพัฒนาระบบงบประมาณของไทย

Development to Thai Public Budgeting

3(2-2-5)

PSB-301

กลยุทธ์และวิธีการในการกำหนดนโยบายสาธารณะ

Strategy and Method Public Policy Formulation

3(2-2-5)

PSB-302

การบริหารระบบการคลังท้องถิ่นไทย

Management of Thai Local Finance

3(2-2-5)

PSB-303

การเตรียมความพร้อมการฝึกประสบการณ์และสหกิจศึกษา

Preparation for Experience and Cooperative Education

1(0-120-0)

PSB-401

ประสบการณ์วิชาชีพด้านรัฐศาสตร์

Professional Experience in Political Science

2(0-240-0)

PSB-402

สหกิจศึกษา

CO-operative Education

6(0-560-0)

PSB-403

โครงงานทางรัฐศาสตร์

Political Science Project

6(0-560-0)

2.3

กลุ่มวิชาชีพเลือก

27 หน่วยกิต

PSC-301

รัฐศาสตร์แนวภายหลังสมัยใหม่นิยม

Post Modernism Political Science

3(2-2-5)

PSC-302

ปัญหาการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาการเมือง

Problem of Change and Political Development

3(2-2-5)

PSC-303

การสื่อสารทางการเมือง

Political Communication

3(2-2-5)

PSC-304

บทบาทอาเซียนในการเมืองโลก

ASEAN role in World Politics

3(2-2-5)

PSC-305

ชนชั้นและความขัดแย้งทางการเมืองของโลกยุคใหม่

Social Class and Political Conflict in Modern World

3(2-2-5)

PSC-306

เศรษฐกิจกับการเมืองไทยและการเมืองโลก

Economy and Thai Politics, World Politics

3(2-2-5)

PSC-307

สื่อและเทคโนโลยีกับการเมืองโลก

Media Technology and World Politics

3(2-2-5)

PSC-308

พฤติกรรมทางการเมือง มติมหาชนและการเลือกตั้ง

Political Behavior, Public Opinion and Election

3(2-2-5)

PSC-401

ประชาธิปไตยและการพัฒนาประชาธิปไตย

Democracy and Democratization

3(2-2-5)

3. หมวดวิชาเลือกเสรี (ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต) 6 หน่วยกิต

นักศึกษาสามารถเลือกเรียนรายวิชาใดๆ ในหลักสูตรมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์นโดยไม่ซ้ำกับรายวิชาที่เคยเรียนมาแล้ว

1 เจ้าหน้าที่ในองค์การภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ ได้แก่ ครู อาจารย์ นักวิชาการศึกษา นักวิจัย นักวิเคราะห์นโยบายและแผน นักวิชาการคลัง นักการทูต นักวิชาการสังคม นักพัฒนาชุมชน ทหาร ตำรวจ เจ้าหน้าที่ปกครอง ปลัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น นายอำเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัด

2 องค์กรภาคเอกชน ได้แก่ เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล เจ้าหน้าที่ผ่านแผนงานและกลยุทธ์องค์กร

3 องค์กรอิสระ ได้แก่ เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานอิสระ องค์กรไม่แสวงหากำไร องค์กรมหาชน



เวลาทำการ

วันจันทร์ - วันศุกร์: 08:30น. - 17:00น.
วันเสาร์ - วันอาทิตย์ : 08:30น. - 17:00น.

ที่อยู่ติดต่อ

749, 1 ถ. ชยางกูร ตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองอุบลราชธานี
อุบลราชธานี 34000

โทรศัพท์

045 283 772